เมนู

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่...
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน.
[816] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกาย
พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในกาย พิจารณาเห็นธรรม คือความ
เกิดขึ้น และความเสื่อมไปในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น
ในเวทนา . . . พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิต... พิจารณา
เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรม พิจารณาเห็นธรรม. คือ ความเสื่อม
ในธรรม พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการเจริญสติปัฏฐาน.
[817] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน
เป็นไฉน อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 คือ สัมมาทิฐิ. . . สัมมาสมาธิ
นี้แลเรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน.
จบวิภังคสูตรที่ 10
จบอนนุสสุตวรรคที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อนนุสสุตสูตร 2. วิราคสูตร 3. วิรัทธสูตร 4. ภาวนาสูตร
5. สติสูตร 6. อัญญสูตร 7. ฉันทสูตร 8. ปริญญาสูตร 9. ภาวนา
สูตร 10. วิภังคสูตร

อมตวรรคที่ 5



1. อมตสูตร *



ว่าด้วยจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน


[818] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิต
ตั้งมั่นด้วยดีในสติปัฏฐาน 4 อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะจะ
พึงมีแก่เธอทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน.
ธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
อยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย เธอ
ทั้งหลาย จงมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 5 เหล่านี้อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย
และอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย.
จบอมตสูตรที่ 1

2. สมุทยสูตร



ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน 4


[819] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิด
และความดับแห่งสติปัฏฐาน 4 เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็น
* ไม่มีอรรถกถาแก้